วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 5

บทที่5

สรุป  อภิปรายและข้อเสนอแนะ
5.1  สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน 
          โครงงาน เรื่อง supercomputer  (ซูเปอร์คอมพิวเตอร์)  มีข้อสรุปผลการดำเนินงานคือ  ข้อมูลจากทั้ง  3  แหล่ง  มีเนื้อหาที่ตรงกัน  นั่นคือ
 สืบค้นข้อมูลจากตำราเรียนในห้องสมุด ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกสร้างในปี ค.ศ 1960 ที่องค์กรของสหรัฐอเมริกาเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงนำมาใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน  มีการใช้หลักทีเรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัวเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันโดยที่งานเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน งานที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออาจจะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปในประมวลผลแต่ละตัวก็ทำงานได้  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลกลางทั้งหมด 4 ตัวแต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีความพัฒนามากจึงทำให้มีหน่วยประมวลผลนับร้อยตัวทำงานพร้อมๆ กันนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณ เช่น งานด้านกราฟิกหรือการคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์  การบิน อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น  รวมทั้งพบมากในวงการวิจัยในห้องปฎิบัติการต่างๆ
สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  มีเนื้อหาดังนี้  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงที่สุดในกลุ่มมีขนาดใหญ่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)สามารถประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากรวมถึงการประมวลผลงานที่มีรูปแบบอันซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที ( 1 Trillion calculations per second )ภายในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้มากกว่า 100 ตัว หน่ายวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์นี้คือ หน่วยจิกะฟลอบ (Gigaflop)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานการวิจัยนิวเคลียร์ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ ด้านการทหาร วิศวกรรมเคมีภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น การสร้างโมเดลที่สามารถประมวลผลด้านความซับซ้อนสูงในการจำลองการประมวลผลต่างๆ รวมทั่วใช้วิจัยพันธุกรรมในมนุษย์หรือโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งมีมากกว่า 80,000 ถึง 100,000 ยีนในร่างกายของมนุษย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ และเนื่องจากราคาของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สูงมาก จึงมักมีการใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น หน่วยงานที่มีกำลังความสามารถในการนำไปใช้เพื่องานวิจัย ก็คือหน่วยงานขององค์การรัฐบาล ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มากและมหาวิทยาลัย
“เทียนเหอ 2" ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เร็วที่สุดในโลก   เอเจนซี--เทียนเหอ2 (Tianhe-2) ขึ้นแท่นอันดับ 1 ในการจัดอันดับระบบคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก 500 อันดับแรกครั้งที่ 41 ด้วยประสิทธิภาพในการประมวลผล 33.86 petaflop ตามมาตรฐาน Linpack โดยมีความเร็วในการคำนวณ เท่ากับ 54,900 ล้านครั้ง/วินาที
 สอบถามข้อมูลจากผู้รู้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ 1960  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมความเร็วสูง งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ  การวิจัยเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การวิเคราะห์ด้านโมเลกุลของสารต่าง ๆ
5.2  ปัญหาและอุปสรรค
       5.2.1  ไม่สามารถเห็นเครื่อง supercomputer  (ซูเปอร์คอมพิวเตอร์) ของจริงได้ เนื่องจาก มีราคาแพง และอยู่ในสถานที่ ที่มีการป้องกันความปลอดภัยเป็นอย่างสูง
       5.2.2  เครือข่าย Internet ล่าช้า ทำให้สืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ล่าช้า
       5.2.3  การสอบถามข้อมูลจากผู้รู้ มีความล่าช้า เนื่องจากผู้รู้ติดภารกิจ สอนหนังสือ
       5.2.4  ในการสืบค้นข้อมูลในห้องสมุด เนื่องจากห้องสมุดมีหนังสือเป็นจำนวนมาก จึงสืบค้นข้อมูลล่าช้า
       5.2.5  ด้านสภาพอากาศ ทำให้เดินทางไม่สะดวก
5.3  ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
          ประเทศไทยควรจะให้งบประมาณนักวิจัย เพื่อสร้างเครื่อง supercomputer  (ซูเปอร์คอมพิวเตอร์) ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูง เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน และผู้สนใจได้ศึกษา และจะได้นำเครื่อง  supercomputer  (ซูเปอร์คอมพิวเตอร์)  มาพัฒนาประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น